วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กระแสน้ำวิตามินแรง!! พาเหรดเข้าตลาดโค้งสุดท้ายของปี รับเทรนด์รักสุขภาพ

               ปัจจุบัน เทรนด์รักสุขภาพปลุกกระแส “น้ำดื่มผสมวิตามิน” หรือ  " Water Plus"  เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยลักษณะ-ของน้ำดื่มบรรจุขวดมีความใสเหมือนน้ำเปล่า ไม่มีสี ผสมวิตามินบางยี่ห้อแต่งกลิ่นเพิ่มเติมเพื่อสร้างความสนใจและอรรถรสในการดื่มให้กับผู้บริโภค จนเกิดเป็นกระแสบอกต่อและมีการสื่อสารทางการตลาดทำให้ขายดิบขายดีขึ้นมา ทำให้มูลค่าตลาดน้ำดิ่มผสมวิตามินมีการเติบโตอย่างมาก ซึ่งที่มาสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ได้มีการรวบรวมประเด็นไว้ดังนี้ 

1. กระแสการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมารวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลของ Kantar Worldpanel มีการอธิบายถึงพฤติกรรมการบริโภคในไทย พบว่า คนไทยมีแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์เรื่องดื่มหวานน้อยและไม่หวานเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 5.1 ครั้งต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 4.97 ครั้งต่อปี

2. สถานการณ์โควิด-19 ช่วงต้นปี 2563 นี้เป็นปัจจัยที่เร่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัวและปรับตัวในการใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพทั้งเรื่องของการออกกำลังกาย การเลือกซื้ออาหารเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานมากขึ้น  

3. การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากค่าความหวาน  ที่ทำผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้นหาทางออกสินค้าใหม่หรือปรับสูตรใหม่ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนสินค้าและตอบโจทย์กระแสการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคด้วย เช่น การออกสูตรน้ำตาลน้อย หรือไม่มีน้ำตาล  เป็นต้น  

4. ภาพรวมของมูลค่าตลาดน่้ำดื่มในประเทศไทย (ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา มค-ส ค 63) 

   - มูลค่าตลาดน้ำดื่ม 18,956 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตลดลง -6.3%

   - มูลค่าตลาดน้ำแร่ 3,850 ล้านบาท มีอัตรการเติบโตลดลง -24% 

    -มูลค่าตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน 1,250 ล้านบาท  มีอัตราการเติบโต +75% 

     ถึงแม้จะมีมูลค่าตลาดที่สูงนักเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดน้ำดิ่มและน้ำแร่ แต่มีการเติบโตที่สวนกระแสกับมูลค่าตลาดน้ำดื่มและน้ำแร่ที่มีอัตราการเติบโตลดลง และระยะแรกนั้นมีผู้เล่นในตลาดนี้ไม่มากนัก

           
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะทำให้ตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินเป็นที่สนใจและดึงดูดให้ผู้ประกอบการหลายรายพร้อมตบเท้าก้าวเข้ามาเล่นในตลาดนี้ 


ปัจุบันผู้เล่นในตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน มีใครบ้าง???

     
     ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ของ บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ บริษัทในเครือของ โรงพยาบาลยันฮี ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินรายแรกๆในเมืองไทย เกิดจากแนวคิดของแพทย์ที่การต้องการดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และรูปทรงของขวดที่มีเอกลักษณ์สะดวกต่อการพกพาและสร้างการจดจำได้ง่าย ในขนาด 460 มิลลิลิตร ราคา 17 บาท  มี 2 สูตร คือ ช่วงแรกออก วิตามินบี 3 6 และ 12 ผสมเก๊กฮวยสกัด  ด้วยรสชาติและการแนะนำจากลูกค้าสู่ลูกค้าจนทำให้เกิดกระแสการบอกต่อและได้รับกระแสตอบรับที่ดี และตามด้วย วิตามินซี 200% ผสมเฉาก๊วยสกัด   

    
  B'lue (บลู) ของบริษัทร่วมทุนระหว่างเซปเป้และดานอน เพื่อรุกตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในไทย ที่มีน้ำดื่มผสมวิตามินบีที่มีรสชาติและมีความหลากหลายของรสชาติต่างๆเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค  ถึง 5 รสชาติ ได้แก่ พีช แพร์ คาลาแมนซี่ ลิ้นจี่ และแคกตัส ในขนาด 500 มิลลิลิตร ราคา 25 บาท 

  

      วิดอะเดย์ วิตามินวอเตอร์  ของเจอเนอรัล เบฟเวอเรจ จำกัด ที่ชูจุดเด่นในเรื่องของวิตามินจากประเทศอังกฤษ   มี 3 สูตรได้แก่ วิอะเดย์วิตามินบีรวม  และ วิดอะเดย์ วิตามินซี 200% กลิ่นเลมอน และกลิ่นพีช ในขนาด 480 มิลลิลิตร ราคา 17 บาท

     พีเอช พลัส 8.5 น้ำด่างที่มีการผสมวิตามิน B และ อิชิตัน วิตามิน วอเตอร์ C 200 พลัส E  ของ อิชิตัน ที่เพิ่งจะเปิดตัวไป ซึ่งน้ำด่างพีเอช พลัส 8.5 นอกจากชูความเป็นน้ำด่างแล้วยังมีส่วนผสมของวิตามินบีที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย และอิชิตัน วิตามิน วอเตอร์ C200 พลัส E ก็เป็นการนำเอาวิตามินซี และ อี มารวมกันในขวดเดียวเพื่อสรา้งคุณค่าเพิ่มในการตอบโจทย์กาบริโภคของลูกค้า  ซึ่งทั้ง 2 สูตร มีขนาด 550 มิลลิลิตร ราคา 20 บาท และยังมีขนาดเล็ก ที่สำหรับจำหน่ายในช่องทางร้านค้าโชห่วยอีกด้วย ทางคุณตันได้ตั้งใจกลับมาเริ่มรุกตลาดเครื่องดื่มรักสุขภาพอย่างจริงจัง พร้อมกับให้มุมมองของตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินนี้มีลักษณะเหมือนกับตลาดชาเขียวในช่วงเริ่มต้น 


          ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 นอกจากผู้เล่นหลักๆ ทั้ง 4 รายแล้ว ยังมีน้ำดื่มผสมวิตามินแบรนด์อื่นๆ ที่จะเข้ามาสร้างความคึกคักให้กับตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินนี้อีกหลายราย  ได้แก่

     อควาวิทซ์ บาย เจเล่ วิตามิน มิเนอรัล วอเตอร์ เป็นแบรนด์น้ำดื่มผสมวิตามินหน้าใหม่ แบรนด์ใต้ร่มเงาของ “เจเล่” ของบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)  ชูจุดเด่นความเป็นน้ำแร่ผสมวิตามินบี 200% แร่ธาตุ 7 ชนิด และค่าความเป็นด่าง หรือ ph 7++ ในขนาด 400 มิลลิลิตร ราคา 15 บาท

   เพอร์ร่า วิตามิน วอเตอร์  จากค่าย  "สิงห์ " ที่โดดลงมาเล่นในตลาด น้ำดื่มผสมวิตามิน ซึ่ง มีส่วนผสมทั้งวิตามินซี 200% และ วิตามินบี 1 3 5 6 และ 12  และเป็นวิตามินที่นำเข้าจากประเทศเยอรมัน ในขนาด 500 มิลลิลิตร ราคา 17 บาท ต่สินค้าตัวนี้ ทางสิงห์ได้จ้างผลิตผ่านบริษัท โตโย ไซกัน(ประเทศไทยจำกัด ผู้ผลิตรายใหญ่ในวงการเครื่องดื่ม โดยการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อการันตีคุณภาพและชื่อชั้นของแบรนด์


ดี อาร์ ดริ๊งค์ วิตามินวอเตอร์  อีกหนึ่งรายน้องใหม่ คือ ดี อาร์ ดริ๊งค์ วิตามิน วอเตอร์ ขนาด 500 มิลลิลิตร ราคา 18 บาท  น้ำดื่มผสมวิตามินซีสูง 200% และมีวิตามินบีต่างๆ จุดเด่นคือบรรจุภัณฑ์สีฟ้าสะดุดตา มีฝาสำหรับคล้องนิ้วคล้ายกับน้ำดื่มผสมวิตามินเจ้าต้นตำรับ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ 


            จากตลาด Blue Ocean ที่เคยมีผู้เล่นเพียงไม่กี่ราย ปัจจุบันได้กลายเป็นตลาด Red Ocean เป็นที่เรียบร้อยแล้วและยังคงดึงดูดให้ผู้ประกอบการเจ้าอื่นๆเข้ามาในตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนาทีนี้ผู้เล่นในตลาดน้ำดิ่มผสมวิตามิน คงต้องเตรียมปรับกลยุทธ์และงัดกลยุทธ์ต่างๆนาๆ เพื่อป้องกันและรักษาความเป็นผู้นำในตลาด และช่วงชิงลูกค้าเพื่อให้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุด คงต้องออกแรงกันอย่างหนักหน่วงในช่วงโค้งสุดท้ายและต่อไปในปี 2564 อีกด้วย  

         ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินมูลค่าตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินไว้เมื่อเดือน กย 63 ว่าในปีนี้คาดการณ์ตลาดเครื่องดื่มผสมวิตามินในไทยจะมีมูลค่าประมาณ 5,500 ล้านบาท และในปี 2564 น่าจะขยับขึ้นไปที่ 6,000 - 7,000 ล้านบาท

        

                                                                                               

                                                                                                     #การตลาด101




ที่มา : การตลาด101 รวบรวม

.........................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่

🌎 Facebook: https://www.facebook.com/Marketing101th



วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563

4 ขั้นตอนในการสร้างลูกค้าประจำ (Customer Loyalty) ที่คุณเองก็ทำได้


     ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น คู่แข่งก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ การหาลูกค้าใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การรักษาฐานลูกค้าเดิมเพื่อไม่ให้เปลี่ยนใจไปใช้สินค้าหรือบริการอื่นๆ ก็ยิ่งต้องทำมากขึ้น  แล้วเราจะมีวิธีกการทำให้ลูกค้าทั่วไปอยู่กับเราจนกลายเป็นลูกค้าประจำได้อย่างไรบ้างล่ะ  Marketing 101 มีเทคนิคการสร้างลูกค้าประจำในแบบง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้ เพียง 4 ขั้นตอนมาแบ่งปันกันครับ :)   

 

1.สร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จัก (Awareness)

      ใครจะมาเป็นลูกค้าเรา ถ้าไม่เคยได้ยิน ไม่เคยรู้จักสินค้าเรามาก่อน ไม่มีใครแนะนำ ไม่มีทางเลยที่เค้าจะมา สนใจสินค้าเรา ฉะนั้นเราจำเป็นต้องสร้างกระบวนการสื่อสารให้ลูกค้ารู้จักสินค้า และรับรู้ในจุดเด่นของสินค้าว่าสินค้าและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ เช่น สินค้าของเราช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า หรือช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้ลูกค้าดูดีเมื่อได้ใช้สินค้าของเรา เป็นต้น  ซึ่งช่องทางการสื่อสารในยุคปัจจุบันก็มีหลายวิธีเพื่อให้เกิดการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย เช่น  Facebook  , Instagram , Line YouTube ,  Tiktok ฯลฯ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องเข้าใจพฤติกรรมการรับสื่อของลูกค้าด้วยว่าเค้าติดตามสื่อช่องทางไหน อย่างไร เพื่อหาวิํีธี รูปแบบ ในการนำเสนอสินค้าและเลือกสื่อให้ตรงกับลูกค้าเพื่อสร้างให้การจดจำโฆษณาและสินค้าของเราได้ดียิ่งขึ้น 


2. การทำให้ลูกค้าเกิดการทดลองใช้สินค้าของเรา (Trial)

        เราต้องพยายามให้ลูกค้าได้ทดลองใช้สินค้าให้ได้ในครั้งแรก เมื่อได้ลูกค้าเกิดการรู้จักหรือได้ยินคำบอกเล่าเกี่ยวกับสินค้ามาบ้างโดยธรรมชาติลูกค้าก็พร้อมที่จะทดลองใช้สินค้า แต่หากลูกค้าไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินชื่อสินค้าเรามาก่อน หากมีคนนำมาให้ทดลองใช้ส่วนใหญ่มักจะปฎิเสธ ดังนั้นการสร้างกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้เกิดการทดลองใช้สินค้า ซึ่งอาจจะเป็นการให้ทดลองใช้แบบฟรีๆ หรือไม่อาจใช้การแนะนำสินค้าในราคาที่จูงใจเพื่อให้ลูกค้าเกิดการทดลองซื้อไปใช้ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้สินค้าแบบฟรีๆเสมอไป 


3. การทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อ  (Purchase)

        การที่ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าของเราในราคาปกติ ซึ่งจุดนี้ถือว่าเราประสบความสำเร็จในจุดแรกของการทำธุรกิจ  เพราะในขั้นตอน "การสร้างการรับรู้" และ "การให้ลูกค้าทดลองใช้สินค้า" เป็นการที่เราจะต้องลงทุน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตัวอย่างหรือการใช้สื่อเพื่อแนะนำสินค้าให้ลูกค้ารู้จัก เพื่อให้ได้มาซึ่งขึ้นตอนของการทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อสินค้าของเรานั่นเอง หลังจากนี้เรายังคงต้องหากิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้ออย่างต่อเนื่องด้วยนะครับ


4. การทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่องและเกิดการบอกต่อ (Repurchase) 

        ขั้นนี้คือที่สุดของความต้องการของเจ้าของธุรกิจทั้งหลาย เพราะการที่ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำหรือบอกต่อหรือแนะนำให้คนอื่นๆมาซื้อสินค้าของเรา นั่นหมายความว่าลูกค้านั้นติดใจในสินค้าของเรา และพร้อมเป็น " ลูกค้าตัวจริง" หรือ "ลูกค้าประจำ" ซึ่งในภาษาการตลาดคือ "การสร้างให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดีในสินค้า" ของเรา (Customer Loyalty) นั่นเอง 


          หลังจากที่เราทราบ 4 ขั้นตอนของการสรา้งลูกค้าประจำแบบง่ายๆ ซึ่งคุณเองก็ทำได้กันแล้ว เราลองมาวิเคราะห์กันดูกับสถานการณ์ทางธุรกิจกันดูนะครับ เพื่อให้เราเห็นภาพและเข้าใจในขั้นตอนต่างๆได้มากขึ้นนะครับ เช่น   หากคนทั่วไปรู้จักสินค้าหรือบริการของเราอยู่แล้วแต่ไม่เคยได้ลองซื้อสินค้าหรือบริการของเราเลยไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม  แสดงว่าเรามีปัญหาอยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือการทำให้ลูกค้าเกิดการทดลองซื้อหรือใช้บริการของเรา ฉะนั้นเราเองจำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ให้ได้ เช่น มีสินค้าขนาดเล็กเพื่อให้ลูกค้าซื้อไปทดลองใช้  หรือทดลองใช้บริการฟรีในครั้งแรก เป็นต้น  หรือหากลูกค้าที่เคยใช้สินค้าของเราไปแล้ว แต่ไม่ได้เป็นลูกค้าประจำไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม แสดงว่าเรามีปัญหาในขั้นตอนที่ 4 การทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำ นั่นคือการขาดการกระตุ้นหรือจูงใจให้ลูกค้าเกิดการซื้ออย่างต่อเนื่อง อาจจะแก้ปัญหาตรงจุดด้วยการวางแผนกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำและอย่างต่อเนื่อง เช่น การสะสมแต้มเพื่อแลกสินค้า หรือการเป็นสมาชิก เป็นต้น 


  ผู้อ่านสามารถติชม แนะนำ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ของ Marketing 101 เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาในครั้งถัดๆไป ได้ที่ Mktg_101@hotmail.com นะครับ  

                                                                                               


                                                                                                     #การตลาด101


...............................................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่

🌎 Facebook: https://www.facebook.com/Marketing101th

 



                                                                                                            

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การตลาดทางสังคม (Societal Marketing) คืออะไร??


การตลาดทางสังคม (Societal Marketing) คืออะไร ??

          ารตลาดทางสังคม (Societal Marketing) หมายถึง การนำเนื้อหาประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อมุ่งหวังให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อและเกิดความพึงพอใจในสินค้าบริการ โดยจูงใจให้ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อมและยังสามารถตอบโจทย์ยอดขายและกำไรทางธุรกิจและส่งเสริมภาพลักษณ์แก่แบรนด์สินค้าบริการอีกด้วย

 งค์ประกอบของการตลาดทางสังคม (Societal Marketing) มีอะไรบ้าง??? 

 1.สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก (Society first)

      จ้าของแบรนด์สินค้าต้องมีการพิจารณาสินค้าบริการของตนเองว่ามีประเด็นไหนที่มีผลต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมบ้าง เช่น สินค้าบริการมีวัสดุหรือชิ้นส่วนใดที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร? วิธีการหรือการผลิตต่างๆส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศหรือแหล่งน้ำหรือไม่? และนำมากำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานธุรกิจให้สอดคล้องกับการตอบโจทย์เรื่องของการลดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้อย่างไร?  ซึ่งอาจเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดนวัตกรรมสินค้าหรือบริการใหม่ๆ หรืออาจทำให้เกิดการลดต้นทุนในการผลิตในระยะยาวได้

2.ความพึ่งพอใจของผู้บริโภคหรือลูกค้า (Consumers Satisfaction)

            นอกจากเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการนอกจากการเข้าใจปัญหาสังคมสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาวและสามารถสามารถปรับปรุงพัฒนาสินค้าบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญคือเจ้าของแบรนด์จะต้องสามารถนำเสนอสินค้าบริการนั้นๆให้เป็นที่สนใจและเป็นที่ต้องการของลูกค้าตลอดจนสามารถสร้างความพึ่งพอใจในการใช้สินค้าบริการให้กับลูกค้าได้ด้วย

   3. กำไรที่เกิดจากแบรนด์สินค้าหรือองค์กร (Profits)

      รูปแบบแนวคิดการตลาดทางสังคม (Societal Marketing) นอกจากจะเน้นไปที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมสิ่งแวดล้อมแล้วหากเจ้าของแบรนด์สินค้ามีสินค้าบริการที่ดี ถูกใจลูกค้าและมีการนำเสนอเนื้อหา(Content) ที่โดนใจก็สามารถทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำสินค้าบริการได้ดีและเกิดการซื้อสินค้าบริการด้วยความพึ่งพอใจ ถือเป็นวิธีการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์สินค้าบริการและองค์กรและสามารถตอบโจทย์เรื่องยอดขายและกำไรขององค์กรอีกด้วย

       ผู้อ่านสามารถติชม แนะนำ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ของ Marketing 101 เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาในครั้งถัดๆไป ได้ที่ Mktg_101@hotmail.com นะครับ  


                                                                          #การตลาด 101 


...............................................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่

🌎 Facebook: https://www.facebook.com/Marketing101th

 


วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563

4Ps ในยุคปัจจุบัน ยังใช้ได้อยู่หรือไม่??

 


 

4Ps ในยุคปัจจุบัน ยังใช้ได้หรือไม่  

       ในยุคปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คู่แข่งขันในตลาดมีจำนวนมากขึ้นการติดต่อสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างไร้พรมแดนและมีหลากหลายช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าแต่ก่อน รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีการขยายตัวมากขึ้นรวมถึงมีความหลากหลายและรวดเร็วเพื่อให้เกิดการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด จึงทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการต้องมีการปรับแผนงานเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย

              โมเดลกลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบันนี้มีรูปแบบใหม่ๆ มากมาย เช่น 8Ps  4Cs  4Ss  ให้เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการสามารถนำมาใช้วางแผนงานให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจและตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของธุรกิจตนเองแต่เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการและผู้อ่านหลายท่านก็มีข้อสงสัยสำหรับกลยุทธ์การตลาดที่เรียกว่า ส่วนประสมทางการตลาดหรือ 4Ps ถือว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดพื้นฐานที่เราเรียนกันมานมนานนี้ว่า 4Ps นี้ยังสามารถนำมาใช้งานวางแผนการตลาดในยุคปัจุบันได้อยู่ไหม  หรือ 4Ps ครอบคลุมเพียงพอต่อการจัดทำแผนการตลาดหรือไม่ ซึ่งทาง Marketing 101 จึงขอแบ่งปันบทสรุปเนื้อหาสำหรับกลยุทธ์พื้นฐานทางการตลาด ที่เรียกว่า ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) มาแบ่งปันให้เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการและผู้สนใจได้ทำความเข้าใจและเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจในการนำ 4Ps มาใช้ในวางแผนการตลาดนะครับ


 ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) หรือ 4Ps คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

                  ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix)  คือเครื่องมือทางการตลาดที่เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการนำมาใช้ในการกำหนดแผนงานธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดและธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือทางการตลาดนี้เรียกว่า 4Ps ประกอบด้วย




1. ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product & Service) 

           สินค้าและบริการที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหา อำนวยความสะดวก ฯลฯ  นอกจากผลิตภัณฑ์และบริการแล้วก็ยังมีเรื่องของ คุณภาพของสินค้าบริการ ( Product Quality)  ความหลากหลายของกลุ่มสินค้า (Product Lineขนาดของสินค้า (Sizing)  ตราสินค้าและบริการ (Brand)  บรรจุภัณฑ์หีบห่อ (Packaging)  การรับประกันสินค้าบริการ (Product guarantee)  ก็อยู่ในหมวด P ตัวแรก (Product) นี้ เช่นเดียวกัน  เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการจะต้องเข้าใจความต้องการกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเพื่อให้สามารถสร้างสินค้าบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และหาจุดเด่นของสินค้าและบริการและสร้างความแตกต่างจากสินค้าอื่นในท้องตลาดเพื่อสร้างการจดจำให้กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

 



2.ราคา (Price) 

          การตั้งราคาสินค้าบริการนั้นทางเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราตั้งราคาสินค้าเพื่อกำไร หรือการตั้งราคาสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาด หรือการตั้งราคาเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) การตั้งราคาที่สูงกับสินค้าบริการที่มีความพิเศษเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เป็นต้น ซึ่งราคาถือเป็นต้นทุนของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจะเปรียบเทียบราคาที่จะจ่ายกับคุณค่าของสินค้านั้น หากคุณค่าของสินค้าสูงกว่าราคาที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจ่าย ก็จะเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ ฉะนั้นการตั้งราคาสิ่งที่สำคัญคือเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการจะต้องคำนึงถึงคุณค่าของสินค้าบริการในสายตาของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ต้นทุนของสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงสภาพการแข่งขัน และปัจจัยอื่นๆ เพื่อพิจารณาประกอบการตั้งราคาสินค้าและบริการด้วย




3.สถานที่จัดจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย (Place & Distribution Channel) 


                        สถานที่จัดจำหน่ายสินค้าบริการ มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งมอบสินค้าบริการให้ผู้บริโภค ช่องทางการจำหน่ายโดยทั่วไป เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งซุปเปอร์มาร์เก็ต , ไฮเปอร์มาร์เก็ต ,การขายตรง ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านคนกลาง เช่น ตัวแทนจำหน่าย , ศูนย์กระจาสินค้า , คนกลาง เช่น ร้านค้าส่งขนาดใหญ่ ช่องทางการขายผ่านช่องทาง Online เช่น ผ่านช่องทาง website, line@, Facebook, Marketplace ช่องทางการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายทาง Online และ Application ต่างๆ เช่น Shopee  ,Lazada , Grab , Linemanwongnai , Gojek เป็นต้น

                รวมถึงในปัจจุบันหลายบริษัทมีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายที่ผสมผสานทั้ง Online และ Offline เข้าด้วยกันที่เรียกว่า “ Omni Channel เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภครวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้าอีกด้วย เช่น ผู้บริโภคสั่งซื้อเสื้อผ้าผ่าน Website และสามารถรับสินค้าที่ Shop สาขาใกล้บ้านได้เลย เป็นต้น สำหรับการเลือกสถานที่จัดจำหน่ายรวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าบริการนั้นเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการต้องมีความเข้าใจในสินค้าบริการของตนเองและพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เพื่อสามารถเลือกรูปแบบสถานที่จัดจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับสินค้าบริการและสอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อเพื่ออำนวยความสะดวกในการหาซื้อสินค้าบริการให้กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายด้วย 




4.การส่งเสริมการตลาด (Promotion 


              หน้าที่หลักของการส่งเสริมการตลาดคือ การสื่อสารให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายรู้จักสินค้าบริการรวมถึงการกระตุ้นและดึงดูดให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าบริการ ซึ่งการส่งเสริมการตลาดก็มีหลากหลายวิธี เช่น การโฆษณาผ่านทาง ทีวี วิทยุ ป้ายโฆษณาต่างๆ  และการสื่อสารผ่านช่องาทาง Online สื่อ โซเชียลมิเดีย หรือ Application ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในการรับข้อมูลข่าวสารรวมถึงสื่อสารกันเองในกลุ่ม ถือเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยง่าย เช่น Facebook Instagram Twitter  Line Tiktok ฯลฯ  การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าบริการหรือกิจกรรมต่างๆของบริษัท เป็นการสร้างภาพลักษณ์แก่สินค้าบริการและบริษัทให้มีความน่าสนใจในสายตากลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย รวมถึงการส่งเสริมการขายต่างๆ เช่น การลด แลก แจก แถม การชิงโชคเพื่อลุ้นรับของรางวัล การใช้พนักงานขาย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการและกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าบริการ เป็นต้น

             อย่างไรก็ดี ทางผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า 4Ps ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนการตลาดในปัจจุบันได้  ซึ่งทางเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการหรือผู้สนใจจะต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงรายละเอียดของ 4Ps ในแต่ละตัวเพื่อให้สามารถนำมาใช้จัดวางส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจของเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการได้ตั้งไว้ หากต้องการมุมมองหรือรายละเอียดของมิติอื่นเพิ่มเติม ก็ทำการหาข้อมูลในหัวข้อนั้นๆ เพิ่มเติมจาก 4Ps เช่น ในธุรกิจบริการต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับ P -People คือพนักงานในการให้บริการลูกค้า ซึ่งพนักงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในสินค้าหรือบริการ และมีศิลปะในการขายที่ดี เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึ่งพอใจและประทับใจในบริการมากที่สุด เป็นต้น แล้วท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ของเนื้อหา ใน Marketing 101 หรือ ติชม เสนอแนะเพื่อให้ทางผู้เขียนสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาในครั้งถัดๆไป



                                                                            #การตลาด101