4Ps ในยุคปัจจุบัน ยังใช้ได้หรือไม่
ในยุคปัจจุบันสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คู่แข่งขันในตลาดมีจำนวนมากขึ้นการติดต่อสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างไร้พรมแดนและมีหลากหลายช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าแต่ก่อน
รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีการขยายตัวมากขึ้นรวมถึงมีความหลากหลายและรวดเร็วเพื่อให้เกิดการเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
จึงทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการต้องมีการปรับแผนงานเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย
โมเดลกลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบันนี้มีรูปแบบใหม่ๆ
มากมาย เช่น 8Ps 4Cs 4Ss
ให้เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการสามารถนำมาใช้วางแผนงานให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจและตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของธุรกิจตนเองแต่เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการและผู้อ่านหลายท่านก็มีข้อสงสัยสำหรับกลยุทธ์การตลาดที่เรียกว่า
“ส่วนประสมทางการตลาด” หรือ 4Ps ถือว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดพื้นฐานที่เราเรียนกันมานมนานนี้ว่า
4Ps นี้ยังสามารถนำมาใช้งานวางแผนการตลาดในยุคปัจุบันได้อยู่ไหม หรือ 4Ps
ครอบคลุมเพียงพอต่อการจัดทำแผนการตลาดหรือไม่ ซึ่งทาง Marketing 101 จึงขอแบ่งปันบทสรุปเนื้อหาสำหรับกลยุทธ์พื้นฐานทางการตลาด ที่เรียกว่า
ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) มาแบ่งปันให้เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการและผู้สนใจได้ทำความเข้าใจและเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจในการนำ
4Ps มาใช้ในวางแผนการตลาดนะครับ
ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) หรือ 4Ps คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
ส่วนประสมการตลาด
(Marketing Mix) คือเครื่องมือทางการตลาดที่เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการนำมาใช้ในการกำหนดแผนงานธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดและธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือทางการตลาดนี้เรียกว่า 4Ps ประกอบด้วย
1. ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product & Service)
สินค้าและบริการที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหา
อำนวยความสะดวก ฯลฯ นอกจากผลิตภัณฑ์และบริการแล้วก็ยังมีเรื่องของ คุณภาพของสินค้าบริการ ( Product Quality) ความหลากหลายของกลุ่มสินค้า
(Product Line) ขนาดของสินค้า
(Sizing)
ตราสินค้าและบริการ (Brand) บรรจุภัณฑ์หีบห่อ (Packaging) การรับประกันสินค้าบริการ (Product
guarantee) ก็อยู่ในหมวด P
ตัวแรก (Product) นี้ เช่นเดียวกัน เจ้าของแบรนด์สินค้าบริการจะต้องเข้าใจความต้องการกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเพื่อให้สามารถสร้างสินค้าบริการให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
และหาจุดเด่นของสินค้าและบริการและสร้างความแตกต่างจากสินค้าอื่นในท้องตลาดเพื่อสร้างการจดจำให้กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
การตั้งราคาสินค้าบริการนั้นทางเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราตั้งราคาสินค้าเพื่อกำไร
หรือการตั้งราคาสินค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาด
หรือการตั้งราคาเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) การตั้งราคาที่สูงกับสินค้าบริการที่มีความพิเศษเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
เป็นต้น ซึ่งราคาถือเป็นต้นทุนของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจะเปรียบเทียบราคาที่จะจ่ายกับคุณค่าของสินค้านั้น
หากคุณค่าของสินค้าสูงกว่าราคาที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจ่าย ก็จะเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ
ฉะนั้นการตั้งราคาสิ่งที่สำคัญคือเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการจะต้องคำนึงถึง
”คุณค่า “ ของสินค้าบริการในสายตาของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย
ต้นทุนของสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงสภาพการแข่งขัน และปัจจัยอื่นๆ เพื่อพิจารณาประกอบการตั้งราคาสินค้าและบริการด้วย
3.สถานที่จัดจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย (Place & Distribution Channel)
สถานที่จัดจำหน่ายสินค้าบริการ มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งมอบสินค้าบริการให้ผู้บริโภค ช่องทางการจำหน่ายโดยทั่วไป เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งซุปเปอร์มาร์เก็ต , ไฮเปอร์มาร์เก็ต ,การขายตรง ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านคนกลาง เช่น ตัวแทนจำหน่าย , ศูนย์กระจาสินค้า , คนกลาง เช่น ร้านค้าส่งขนาดใหญ่ ช่องทางการขายผ่านช่องทาง Online เช่น ผ่านช่องทาง website, line@, Facebook, Marketplace ช่องทางการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายทาง Online และ Application ต่างๆ เช่น Shopee ,Lazada , Grab , Linemanwongnai , Gojek เป็นต้น
รวมถึงในปัจจุบันหลายบริษัทมีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายที่ผสมผสานทั้ง Online และ Offline เข้าด้วยกันที่เรียกว่า
“ Omni Channel “ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภครวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้าอีกด้วย
เช่น ผู้บริโภคสั่งซื้อเสื้อผ้าผ่าน Website และสามารถรับสินค้าที่
Shop สาขาใกล้บ้านได้เลย เป็นต้น สำหรับการเลือกสถานที่จัดจำหน่ายรวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าบริการนั้นเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการต้องมีความเข้าใจในสินค้าบริการของตนเองและพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
เพื่อสามารถเลือกรูปแบบสถานที่จัดจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับสินค้าบริการและสอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อเพื่ออำนวยความสะดวกในการหาซื้อสินค้าบริการให้กับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายด้วย

4.การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
หน้าที่หลักของการส่งเสริมการตลาดคือ
การสื่อสารให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายรู้จักสินค้าบริการรวมถึงการกระตุ้นและดึงดูดให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าบริการ
ซึ่งการส่งเสริมการตลาดก็มีหลากหลายวิธี เช่น การโฆษณาผ่านทาง ทีวี วิทยุ ป้ายโฆษณาต่างๆ
และการสื่อสารผ่านช่องาทาง Online
สื่อ โซเชียลมิเดีย หรือ Application ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในการรับข้อมูลข่าวสารรวมถึงสื่อสารกันเองในกลุ่ม
ถือเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยง่าย เช่น Facebook
Instagram Twitter Line Tiktok
ฯลฯ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าบริการหรือกิจกรรมต่างๆของบริษัท
เป็นการสร้างภาพลักษณ์แก่สินค้าบริการและบริษัทให้มีความน่าสนใจในสายตากลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
รวมถึงการส่งเสริมการขายต่างๆ เช่น การลด แลก แจก แถม การชิงโชคเพื่อลุ้นรับของรางวัล
การใช้พนักงานขาย เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการและกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าบริการ
เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ทางผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า 4Ps ยังคงสามารถนำมาใช้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนการตลาดในปัจจุบันได้ ซึ่งทางเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการหรือผู้สนใจจะต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงรายละเอียดของ 4Ps ในแต่ละตัวเพื่อให้สามารถนำมาใช้จัดวางส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจของเจ้าของแบรนด์สินค้าบริการได้ตั้งไว้ หากต้องการมุมมองหรือรายละเอียดของมิติอื่นเพิ่มเติม ก็ทำการหาข้อมูลในหัวข้อนั้นๆ เพิ่มเติมจาก 4Ps เช่น ในธุรกิจบริการต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับ P -People คือพนักงานในการให้บริการลูกค้า ซึ่งพนักงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในสินค้าหรือบริการ และมีศิลปะในการขายที่ดี เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึ่งพอใจและประทับใจในบริการมากที่สุด เป็นต้น แล้วท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ของเนื้อหา ใน Marketing 101 หรือ ติชม เสนอแนะเพื่อให้ทางผู้เขียนสามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาในครั้งถัดๆไป
#การตลาด101
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น