วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

6 เคล็ดลับดีๆ ที่ทำให้ลูกค้า "หลงรัก" แบรนด์ของคุณ


     ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งในยุคดิจิตัล ทำให้หลายแบรนด์ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้านั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Insights) มากขึ้น ในการทำการตลาดในยุคนี้จึงควรให้ความสำคัญไปที่การทำอย่างไรให้แบรนด์เป็นที่รักของลูกค้า (Brand Love) และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าคงอยู่กับเราต่อไป

     ทางการตลาด 101 ก็มี 6 เคล็ดลับดีๆ ที่ทำให้ลูกค้าหลงรักแบรนด์ของคุณ(Brand Love) มาแบ่งปันกัน มีอะไรบ้างมาดูกันเลยครับ ;)  


1.ต้องเข้าใจปัญหาของลูกค้า (Consumer pain point)

     เราต้องเข้าใจปัญหาของลูกค้าว่า  ปัญหาของลูกค้าที่ลูกค้าคือเรื่องอะไร ?? ลูกค้าไม่ชอบอะไร?? เช่น การหาซื้อสินค้าไม่ได้ พนักงานบริการไม่ดี  ซึ่งเราต้องจับปัญหาของลูกค้าให้ได้และสินค้าของเราสามารถช่วยลูกค้าแก้ปัญหาหรือสร้างคุณค่าให้กับเค้าได้อย่างไรบ้าง


2.แบรนด์ต้องมีอัตลักษณ์และบุคลิกที่ชัดเจน (Brand Identity & Brand Personality

     ต้องพยายามหาจุดแข็งที่โดดเด่นและสามารถสร้างความแตกต่าง (Different) จากสินค้าอื่นๆ เพื่อสามารถสร้างให้เกิดการจดจำแก่ลูกค้าได้โดยง่ายรวมถึงต้องมีบุคลิกของผลิตภัณฑ์ ( Brand Personality) ที่สอดคล้องและโดนใจกลุ่มเป้าหมายอย่างที่สุด 


3.สร้างความเชื่อมั่นและความมุ่งหวังของแบรนด์ (Brand Purpose)    

     ต้องสร้างความเชื่อมั่นและความมุ่งหวัง (Brand Purpose) และสามารถสะท้อนความเป็นตัวตนของผู้ใช้สินค้าหรือแบรนด์นั้นๆ โดยการส่งมอบประโยชน์และคุณค่าและประสบการณ์ที่ดีของสินค้าหรือบริการทั้งต่อตัวลูกค้าเองเป็นการเชื่อมต่อด้านอารมณ์ความรู้สึกระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นกับกลุ่มลูกค้า


4.การสื่อสารและความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ (Brand Communication) 

     การสื่อสารทางการตลาดต้องมีเนื้อหาที่จะสื่อสารที่ชัดเจน รวมถึงต้องเข้าใจเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้า (Customer journey) และการเลือกรูปแบบของสื่อ (Platform)ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญคือ ความต่อเนื่องของการสื่อสารต้องเป็นการสื่อสารที่เป็นเรื่องเดียวกันและสร้างให้เกิดการพบเห็นสม่ำเสมอ


5.รับฟังและตอบสนองความคิดเห็นของลูกค้าสม่ำเสมอ (Consumer Feedback) 

     "ลูกค้า ” คือปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ การได้รับฟังเสียงของลูกค้าและตอบสนองความคิดเห็นของลูกค้าโดยเร็วและสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะนั่นคือการทำให้ลูกค้าเกิดความพึ่งพอใจและเป็นการสร้างความเชื่อใจกับลูกค้าจนเกิดเป็นความรักในแบรนด์ได้


6.มีการประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Evaluating and Developing  Performance)

     ควรมีการวัดผลของกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่องและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากสุดและทำให้เกิดความพอใจจนเกิดเป็นความรักในแบรนด์ในที่สุด


     สุดท้ายนี้การจะทำให้แบรนด์เป็นที่รักของลูกค้าได้นั้น ต้องมั่นใจว่าสินค้าบริการของเราต้องมีคุณภาพที่ดีและสร้างความแตกต่างจากสินค้าหรือบริการอื่นๆในตลาดได้ เมื่อสินค้ามีคุณภาพที่ดีแล้วผู้ใช้ได้ทดลองใช้ก็จะทำให้เกิดการซื้อซ้ำและเกิดการบอกต่อเพราะหากสินค้าหรือบริการของเรายังไม่ดี ยังไม่มีคุณภาพในเกณฑ์ที่ลูกค้ายอมรับได้นั้น ก็ยากที่จะทำให้แบรนด์หรือสินค้าบริการเป็นที่รักของลูกค้าได้

                                               

                                                           #การตลาด101 


...................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจหรือเสนอแนะ ติชม ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/Marketing101th
e mail : mktg_101@hotmail.com


วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เมื่อรู้สึก "หมดไฟในการทำงาน" ( Burnout Syndrome) จะทำอย่างไรดี?

ในการทำงาน แน่นอนว่าในบางครั้ง เมื่อเราทำงานเดิมๆ ซ้ำ ๆ จนเกิดความรู้สึกเคยชิน ก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึก  “เบื่องาน” หรือ “หมดไฟ” ได้

  อาการหมดไฟในการทำงาน" (Burnout Syndrome) มักเกิดขึ้นเมื่อเราทำงานอย่างหนักอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้พักเป็นเวลานานๆ เป็นอาการที่เราไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรงดึงดูด หรือแรงจูงใจ หากเกิดอาการเช่นนี้บ่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อการทำงาน รวมถึงสุขภาพกายสุขภาพจิตของเราอีกด้วย ซึ่งวันนี้การตลาด101 มี 7 วิธีดีๆสำหรับการรับมือภาวะหมดไฟในการทำงานมาแบ่งปันทุกคน มีอะไรบ้างดูกันเลยครับ :)


1.ปล่อยว่างจากงานสักพัก ลองทำกิจกรรมที่ชอบสักนิด

  ลองพักเบรคจากงานที่ทำสักพัก แล้วไปทำกิจกรรมที่ชอบสักนิด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เดินเล่น แล้วค่อยกลับไปเริ่มทำงานใหม่ จะช่วยให้เรามีแรงต่อสู้กับเรื่องงานและอื่นๆ ในชีวิตต่อไป


2. ลองเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงานบ้าง  

  การอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเดิมๆ ที่เดิมๆ อาจทำให้เราคิดอะไรไม่ออก ให้ลองปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ในการทำงานให้กับตัวเองบ้าง เช่น ไปนั่งทำงานที่ร้านกาแฟ หรือสถานที่ใหม่ๆดูบ้าง ก็จะทำให้รู้สึกดีขึ้นได้



3. พบปะเพื่อนฝูง พูดคุย บอกเล่ากับคนสนิทฟัง

  การได้พบปะเพื่อนๆ ได้มีการระบายหรือบอกเล่าปัญหาให้คนที่เราสนิท ก็จะช่วยให้จิตใจของเรารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราอาจจะได้ทางออกจากมุมมองหรือข้อแนะนำจากคนที่เราสนิทอีกด้วย


4.รับประทานอาหารที่ชื่นชอบและพักผ่อนให้เพียงพอ

  หากช่วงที่เรารู้สึกหมดไฟ เบื่อๆ ร่างกายของคุณอาจจะเข้าสู่โหมดอยากพัก ซึ่งก็อาจจะทำให้จิตใจของเราไม่แข็งแรงไปด้วย ฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ตนเองชื่นชอบ ก็จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและสบายใจมากขึ้น แต่ก็ควรเป็นอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยนะ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง ก็จะส่งผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจอีกด้วย


5. ออกกำลังกายกันเถอะ

  การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยให้ร่างกายได้บริหารแล้ว สามารถช่วยบรรเทาความเครียดได้ รวมถึงถึงขั้นช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้าได้เลยด้วย  สุดท้ายยังช่วยให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น มีแรงเติมไฟสู้กับวันใหม่ต่อไป


6. เช็คลิสของตัวเราเองอย่าสม่ำสมอ

  ช่วงที่เรารู้สึก หมดไฟ“ เบื่อๆ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากรับรู้เรื่องงาน และไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน เราควรมีเช็คลิสให้ตัวเอง คอยสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าเราอยู่จุดไหนแล้วเป้าหมายของเราคืออะไร เพื่อเตือนตัวเองและถือเป็นกำลังใจกับตัวเอง และทำให้เรากลับมาสู่การเริ่มต้นที่จะสู้ใหม่โดยมีจุดหมายไม่ไร้ทิศทาง


7.เปิดโลกให้ตัวเอง ออกไปเจอสถานที่ใหม่ ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

  การหาโอกาสให้ตัวเองได้ไปท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ ที่เราเองไม่เคยไป หรือไปสัมผัสธรรมชาติดูบ้าง ก็จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้  หรืออาจจะลองเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็ช่วยให้เราได้ผ่อนคลายคลาย เพราะเราเริ่มใหม่จากศูนย์ด้วยความกระหายพร้อมจะเรียนรู้ ไม่กดดันตัวเอง หรือคาดหวังต่อตัวเองมากเกินไป แล้วยังอาจทำให้เราได้เจอสิ่งที่ชอบใหม่ๆ เป็นอีกหนึ่งการค้นพบตัวเองมากขึ้นเช่นกัน

 

  ลองสำรวจความรู้สึกของตัวเอง และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีเบื้องต้นดังกล่าว อาจช่วยให้เราสบายใจขึ้นและมีแรงกลับมาสู้ใหม่นะครับ

 


                                                                                   #การตลาด101


...................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่

🌎 Facebook: https://www.facebook.com/Marketing101th

 

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

3 ขั้นตอนสุดเจ๋ง!! ที่ทำให้ลูกน้องคิดเองเป็น



             ชีวิตจริงของคนที่เป็น " หัวหน้า " ต้องเจอเป็นประจำ คือ ต้องคอยดูแลงานภาพรวม และต้องคอยจี้งานลูกน้องเป็นประจำ ทำถูกต้องตามโจทย์ที่เราให้บ้าง ไม่ถูกบ้างก็ต้องเรียกมาพูดคุยเพื่อช่วยกันหาทางแก้ปัญหากันไปเพื่อให้งานสามารถเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง  บางทีก็มานั่งคิดหาทางว่า ..


" ทำอย่างไง ลูกน้องถึงจะคิดเองเป็น ต้องคอยให้สอนให้บอกอยู่ตลอด " 


" ลูกน้องทำงานออกมาไม่ได้ตามที่คาดหวัง งั้นเอามาทำดีกว่า ไม่สอนละ เสียเวลา เดี๋ยวออกมาไม่ดีอีก คราวนี้จะพาลเละกันหมด "


" จะต้องกระตุ้นลูกน้องอย่างไงดีนะ ให้เค้ามีไฟและอยากพัฒนาด้วยตัวเค้าเอง  " 


             Marketing 101 ได้สรุป 3 ขั้นตอนสุดเจ๋ง สำหรับหัวหน้างานที่ทำให้ "ลูกน้องคิดเองเป็น" และเติบโตไปด้วยกัน มาแบ่งปันสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้างาน , เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจในแง่ของการบริหารทีมหรือดูแลลูกน้อง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยยยย...



       1.บอกลูกน้องเสมอว่า คุณกำลังคิดอะไรอยู่

          โดยบอกลูกน้องของคุณว่า คุณอยากได้งานอะไร เพื่ออะไร  เช่น หากคุณต้องการรายงานยอดขาย เพื่อใช้ในการประมาณการยอดขายอีก 6 เดือนข้างหน้า  คุณอาจจะบอกเค้าว่า ตอนนี้ใกล้สิ้นปีแล้ว พี่ต้องการรายงานยอดขายเพื่อเตรียมจัดทำแผนงานประมาณยอดขายสำหรับ 6 เดือนข้างหน้า เราจะทำอย่างไรได้บ้าง แล้วลองให้ลูกน้องของคุณทำรายงานยอดขายมานำเสนอ และลองพิจารณาดูว่ารายงานนั้นตรงตามที่คุณต้องการหรือไม่ ควรปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น  


         
       2.ฟังความคิดของลูกน้องและดูเค้าว่าจะทำอย่างไรบ้าง 

          หลังจากที่คุณได้ Feedback งานของลูกน้องคุณไปแล้ว ขั้นตอนที่ 2 นี้ให้ลองดูปฎิกิริยาของลูกน้องและลองให้เค้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่เค้านำเสนอดูว่าเค้ามีความคิดเห็นอย่างไร ทำไมถึงนำเสนองานลักษณะนี้กับคุณ ในขณะเดียวกันคุณซึ่งเป็นหัวหน้าก็ต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องด้วยเช่นกัน หากมีสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงให้ลองถามลูกน้องของคุณดูว่าเค้าจะมีแนวคิดหรือมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร และคุณเองก็ต้องหาวิธีตบๆให้แนวคิดหรือการปฎิบัติงานของลูกน้องของคุณเข้ามาในขอบเขตที่คุณได้วางไว้ด้วย  



     3. หากลูกน้องของคุณทำผิดพลาด ก็ให้คิดว่าคือบทเรียน

         ถ้าสิ่งที่ลูกน้องของคุณทำออกมาแล้วเกิดความผิดพลาด ในฐานะที่คุณเป็นหัวหน้างานก็ต้องทำใจและให้เป็นบทเรียนทั้งคุณและลูกน้องของคุณด้วย เพื่อให้เค้าได้เกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันคุณและเค้าก็ต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีกในครั้งถัดไป ซึ่งถือเป็นการพัฒนาแนวคิดและมุมมองในการปฏิบัติงานของลูกน้องของคุณอีกด้วย หากในงานครั้งหน้าลูกน้องของคุณได้รับมอบหมายและสามารถนำเสนอแผนงานหรือไอเดียต่างๆ ซึ่งได้เรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งที่ผ่านมาจนเค้าสามารถทำได้สำเร็จ ก็ถือว่าเค้าเริ่มที่จะคิดเองและสามารถทำงานได้โดยที่ไม่ต้องรอคำสั่งจากคุณอย่างเดียวแล้วล่ะครับ ;)


                                                   
                                                                         #การตลาด101


...................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่

🌎 Facebook: https://www.facebook.com/Marketing101th