วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

3 ขั้นตอนสุดเจ๋ง!! ที่ทำให้ลูกน้องคิดเองเป็น



             ชีวิตจริงของคนที่เป็น " หัวหน้า " ต้องเจอเป็นประจำ คือ ต้องคอยดูแลงานภาพรวม และต้องคอยจี้งานลูกน้องเป็นประจำ ทำถูกต้องตามโจทย์ที่เราให้บ้าง ไม่ถูกบ้างก็ต้องเรียกมาพูดคุยเพื่อช่วยกันหาทางแก้ปัญหากันไปเพื่อให้งานสามารถเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง  บางทีก็มานั่งคิดหาทางว่า ..


" ทำอย่างไง ลูกน้องถึงจะคิดเองเป็น ต้องคอยให้สอนให้บอกอยู่ตลอด " 


" ลูกน้องทำงานออกมาไม่ได้ตามที่คาดหวัง งั้นเอามาทำดีกว่า ไม่สอนละ เสียเวลา เดี๋ยวออกมาไม่ดีอีก คราวนี้จะพาลเละกันหมด "


" จะต้องกระตุ้นลูกน้องอย่างไงดีนะ ให้เค้ามีไฟและอยากพัฒนาด้วยตัวเค้าเอง  " 


             Marketing 101 ได้สรุป 3 ขั้นตอนสุดเจ๋ง สำหรับหัวหน้างานที่ทำให้ "ลูกน้องคิดเองเป็น" และเติบโตไปด้วยกัน มาแบ่งปันสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้างาน , เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจในแง่ของการบริหารทีมหรือดูแลลูกน้อง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยยยย...



       1.บอกลูกน้องเสมอว่า คุณกำลังคิดอะไรอยู่

          โดยบอกลูกน้องของคุณว่า คุณอยากได้งานอะไร เพื่ออะไร  เช่น หากคุณต้องการรายงานยอดขาย เพื่อใช้ในการประมาณการยอดขายอีก 6 เดือนข้างหน้า  คุณอาจจะบอกเค้าว่า ตอนนี้ใกล้สิ้นปีแล้ว พี่ต้องการรายงานยอดขายเพื่อเตรียมจัดทำแผนงานประมาณยอดขายสำหรับ 6 เดือนข้างหน้า เราจะทำอย่างไรได้บ้าง แล้วลองให้ลูกน้องของคุณทำรายงานยอดขายมานำเสนอ และลองพิจารณาดูว่ารายงานนั้นตรงตามที่คุณต้องการหรือไม่ ควรปรับปรุงหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น  


         
       2.ฟังความคิดของลูกน้องและดูเค้าว่าจะทำอย่างไรบ้าง 

          หลังจากที่คุณได้ Feedback งานของลูกน้องคุณไปแล้ว ขั้นตอนที่ 2 นี้ให้ลองดูปฎิกิริยาของลูกน้องและลองให้เค้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่เค้านำเสนอดูว่าเค้ามีความคิดเห็นอย่างไร ทำไมถึงนำเสนองานลักษณะนี้กับคุณ ในขณะเดียวกันคุณซึ่งเป็นหัวหน้าก็ต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องด้วยเช่นกัน หากมีสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงให้ลองถามลูกน้องของคุณดูว่าเค้าจะมีแนวคิดหรือมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร และคุณเองก็ต้องหาวิธีตบๆให้แนวคิดหรือการปฎิบัติงานของลูกน้องของคุณเข้ามาในขอบเขตที่คุณได้วางไว้ด้วย  



     3. หากลูกน้องของคุณทำผิดพลาด ก็ให้คิดว่าคือบทเรียน

         ถ้าสิ่งที่ลูกน้องของคุณทำออกมาแล้วเกิดความผิดพลาด ในฐานะที่คุณเป็นหัวหน้างานก็ต้องทำใจและให้เป็นบทเรียนทั้งคุณและลูกน้องของคุณด้วย เพื่อให้เค้าได้เกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันคุณและเค้าก็ต้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีกในครั้งถัดไป ซึ่งถือเป็นการพัฒนาแนวคิดและมุมมองในการปฏิบัติงานของลูกน้องของคุณอีกด้วย หากในงานครั้งหน้าลูกน้องของคุณได้รับมอบหมายและสามารถนำเสนอแผนงานหรือไอเดียต่างๆ ซึ่งได้เรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งที่ผ่านมาจนเค้าสามารถทำได้สำเร็จ ก็ถือว่าเค้าเริ่มที่จะคิดเองและสามารถทำงานได้โดยที่ไม่ต้องรอคำสั่งจากคุณอย่างเดียวแล้วล่ะครับ ;)


                                                   
                                                                         #การตลาด101


...................................

ติดตามสรุป ประเด็น บทความ เนื้อหาสาระอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่

🌎 Facebook: https://www.facebook.com/Marketing101th

 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น