Real-Time
Marketing โหนกระแสให้ไว พาแบรนด์ให้ปัง
ในช่วงสถานการณ์
โควิด-19
ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป คนทำงานที่บ้าน
(Work from home) ติดตามข่าวสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ
การประชุมทางออนไลน์ (E-Meeting) การสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านผ่าน
Grab, Lineman หรือแม้กระทั่งการจับจ่ายซื้อสินค้าในช่องทาง Market
Place ต่างๆ ปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคนี้เป็นยุคที่การสื่อสารบนโลกออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างชัดเจน
เจ้าของแบรนด์และนักการตลาดจำเป็นต้องหากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่หลากหลายเพื่อทำให้สินค้าบริการเป็นที่รับรู้และเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและรวดเร็ว
ซึ่ง Real-Time Marketing (หรือ Real-Time Content) เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่นิยมของแบรนด์และนักการตลาดในการโหนกระแสข่าวเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นประเด็นพูดถึงในสังคม
พาแบรนด์สินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและเกิดการจดจำได้รวดเร็ว
Real-Time Marketing
คืออะไร
Real-time Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดที่เชื่อมโยงสินค้าบริการกับกระแสข่าวเหตุการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคมขณะนั้น
นำมาสร้างสรรค์สื่อเพื่อสร้างการรับรู้ให้เกิดการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้โดยง่ายและรวดเร็ว
ซึ่งในยุคที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมอยู่บนโลกออนไลน์และ Social Media มากขึ้นนี้เอง เจ้าของแบรนด์นักการตลาดต้องพยายามติดตามเรื่องราวประเด็นในสังคมหรือเหตุการณ์ที่เป็นกระแสต่างๆ
นำมาใช้ประโยชน์หรือสร้าง Content ที่สร้างสรรค์ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วเป็นสำคัญ
ต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และต้องสอดคล้องกับตัวตนของแบรนด์
เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นแล้วรู้สึกชอบ สนใจ และเกิดการพูดถึงในช่วงกระแสดังกล่าว
เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำให้แบรนด์สินค้าบริการสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดการจำได้และทำให้เกิดการซื้อสินค้าได้ในที่สุด
ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กลยุทธ์ Real- Time Marketing ในสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ
เช่น Facebook, Twitter เป็นต้น
4 เทคนิค ทำ Real-Time Marketing พาแบรนด์ให้ปัง
1. Content โดนใจ
ก่อนอื่นเจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำ Content ว่า Content นี้เราทำเพื่ออะไร ต้องการสื่อสารเรื่องใดกับกลุ่มเป้าหมาย จะลงในช่องทางใด
และช่วยแก้ปัญหา (Pain
Point) หรือตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งการสร้าง Content ต้องหาจุดที่แบรนด์สินค้ามีการเชื่อมโยงกับกระแสตลาดให้มากที่สุด
เช่น การสร้าง Content ของแบรนด์สินค้า
ต้องมีความสะดุดตา ล้อไปกับประโยคหรือคำพูดที่เป็นกระแสนั้นๆ หรือในเชิงรูปภาพ ควรมีสีสันสดใส ล้อไปกับภาพของกระแสเพื่อสร้างการจดจำได้
หาก Content ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดนใจลูกค้าก็จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดีและสามารถทำให้เกิดเป็น
Viral ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ควรเลือกเล่นกระแสที่เป็นประโยชน์และมุมบวกกับแบรนด์สินค้าเพื่อสร้างความเป็นมิตรกับลูกค้า
และหลีกเลี่ยงการขายสินค้าอย่างจริงจัง หรือเล่นกระแสในมุมลบเพราะอาจจะส่งผลกระทบทำให้ลูกค้าปิดกั้นสื่อและทำให้แบรนด์เกิดความเสียหายได้
2. สอดรับกับตัวตนหรือจุดยืนของแบรนด์
นอกจากการสร้างสรรค์ Content ที่โดนใจและกำลังเป็นกระแสในสังคมอยู่นั้น เจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของกระแสข่าวกับคาแรคเตอร์ของแบรนด์สินค้าว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงไม่ลืมที่จะทำให้ Content นั้นสอดรับกับตัวตนหรือจุดยืนของแบรนด์สินค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจและเกิดการจดจำตัวตนหรือจุดยืนของแบรนด์สินค้าได้ง่ายขึ้น
3.ถูกจังหวะเวลา
Real-Time Marketing เป็นกลยุทธ์ที่ผูกติดกับกระแสตลาด
กรอบช่วงเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ การนำประเด็นเหตุการณ์มาสร้าง
Content ควรทำให้ไวและปล่อยออกมาในช่วงที่กระแสกำลังร้อนแรง
ก็จะทำให้ Content ของแบรนด์สินค้าบริการมีความน่าสนใจและเกิดการจดจำได้ง่าย
เป็นการช่วยส่งเสริมให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ทันต่อกระแสสังคม สำหรับช่องทางในการปล่อย Content ควรพิจารณาเลือกช่องทางที่สามารถดำเนินการได้ไวและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
Content จะถูกเห็นได้เร็วและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ความถี่ของสื่อที่ทำให้เกิดการพบเห็นก็ต้องมีความพอดีไม่มากเกินจนทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรำคาญได้หรือน้อยไปจนไม่ทำให้เกิดการพบเห็น
4.แผนต่อเนื่องต้องมี
หลังจากที่แบรนด์สินค้าอยู่ในความสนใจของผู้บริโภคแล้ว
เจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดควรมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่องและวางแผนต่อยอดจากการที่เราเล่นกับกระแสขณะนั้น
เช่น การจัดรายการส่งเสริมการขาย ลด แลก
แจก แถม เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้เร็วยิ่งขึ้น
หรือการจัดกิจกรรมโพสรูปคู่กับสินค้าชิงรางวัล ผ่าน ทาง Facebook หรือ Instagram พร้อม Hashtag เก๋ๆของแบรนด์สินค้า เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มลูกค้ากับแบรนด์สินค้าและยังเป็นการสร้างรับรู้ในวงกว้างเพิ่มขึ้นอีกด้วย
#การตลาด101
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น